ค้นหาบล็อกนี้

แนวโน้มและการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในอนาคต


พ.อ.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และ นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์
ในโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา ไร้เชื้อชาติ และไร้ชนชั้น ผู้คนในโลกยุคใหม่นี้สามารถเดินทางข้ามพรมแดน ข้ามกาลเวลา ไปพบปะพูดคุยกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ย่อมได้ เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
อินเทอร์เน็ต สื่อสารมวลชนแขนงหนึ่งซึ่งถือกำเนิดมากว่าสิบปีแล้ว จัดเป็นสื่อดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนทุกวันนี้สื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสื่อสารมวลชนหลักที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากทั่วทั้งโลก อาทิเช่น ชุมชนออนไลน์ Myspace (http://www.myspace.com/) ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก จากข้อมูลเมื่อกลางปี 2007 มีผู้เข้าชมเว็บไซต์แห่งนี้ประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 110 ล้านคน ตัวเลขนี้สูงกว่าจำนวนผู้อ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร แม้แต่ Time Magazine นิตยสารยอดนิยมอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ยังมีผู้อ่านเพียงสัปดาห์ละ 3.5 ล้านคนเท่านั้น
ผู้คนในยุคนี้จึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตในอนาคต เพื่อช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี (Digital Divide) ซึ่งอาจเป็นประเด็นให้เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคม ที่ทำให้ผู้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า จะได้เปรียบกว่าและมีโอกาสทางสังคมในบริบทต่างๆมากกว่าผู้มีความรู้น้อยกว่า เพราะในปัจจุบันนี้เกมออนไลน์ , เว็บบล็อก , เว็บไซต์ ไม่ได้เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีเวลาว่างเหลือเฟืออีกต่อไปแล้ว สื่ออินเทอร์เน็ตเหล่านี้มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากทั้งชายหญิง หลากหลายกลุ่มอายุ การงาน อาชีพ และที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ พบว่ามีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเวลา , Bob Metcalfe ผู้ค้นพบ 3Com และ Ethernet ทำนายว่า ภายในปี 2020 การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเป็นมากยิ่งกว่าการใช้เพียงเพื่อการสื่อสาร
เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนในโลกมากขึ้นเรื่อยๆเช่นนี้ จึงมีบรรดานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีจากหลากหลายสถาบันที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัยเพื่อประเมินแนวโน้มและทำนายอนาคตของระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งในด้านผลกระทบต่อการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต และผลกระทบจากอินเทอร์เน็ตต่อบริบทต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในโลกอนาคต
บทความนี้นำเสนอเนื้อหาหลักบางส่วนจากเอกสารสรุปผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล 3 องค์กร คือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU-International Telecommunication Union)[3] Pew Research Center[4],และ EPoSS (The European Technology Platform on Smart Systems Integration)[5] ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัยทำนายอนาคตของระบบอินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาเรียนรู้เรื่อง “ อินเทอร์เน็ตในอนาคต ” หรือ The Future Internet

0 ความคิดเห็น: