ค้นหาบล็อกนี้

แผนที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

สถานที่ท่องเที่ยว ป่าหินงาม



ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพังเหยในเขต ต.บ้านไร่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสระบุรี - ชัยบาดาล ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 205 เส้นทางชัยบาดาล - เทพสถิต - ชัยภูมิ ก่อนถึงอำเภอเทพสถิต จะมี ทางแยกซ้ายมือไปป่าหินงาม อีก 29 กิโลเมตร หากเดินทางเส้นทางจาก จ.นครราชสีมา ก็จะใช้เส้นทางนครราชสีมา - เพชรบูรณ์ โดยจะวิ่งผ่าน ต.หนองบัวโคก ผ่านบ.คำปิง เข้าสู่อำเภอเทพสถิต และเลี้ยวขวาบริเวณ สามแยกเพื่อจะไปในเส้นทาง เทพสถิต - ซับใหญ่ และหากท่านมาจากตัว เมืองชัยภูมิ ก็ต้องใช้เส้นทาง ระเหว - ซับใหญ่ - เทพสถิต เมื่อออกจากตัว กิ่งอ.ซับใหญ่จะถึงทางแยกขึ้นอุทยานฯ ก่อนที่จะถึง อ.เทพสถิต...

:: แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ::

<< ป่าหินงาม >>
"ป่าหินงาม" หรือ (ลานหินงาม) อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ ทั่วบริวเวณเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน และเนื้อหินทรายมานานนับลานปี วาง เรียงรายสลับซับซ้อน อยู่เต็มลานบ้างก็มีรูปรา่างเหมือนกับถ้วยฟุตบอลโลก บ้างก็เหมือนกบเรด้า และรูปต่าง ๆ แล้วแต่จะ จินตนาการ แต่เมื่อดูแล้วชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจเป็นยิ่งนัก...

แนวโน้มและการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในอนาคต


พ.อ.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และ นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์
ในโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา ไร้เชื้อชาติ และไร้ชนชั้น ผู้คนในโลกยุคใหม่นี้สามารถเดินทางข้ามพรมแดน ข้ามกาลเวลา ไปพบปะพูดคุยกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ย่อมได้ เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
อินเทอร์เน็ต สื่อสารมวลชนแขนงหนึ่งซึ่งถือกำเนิดมากว่าสิบปีแล้ว จัดเป็นสื่อดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนทุกวันนี้สื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นสื่อสารมวลชนหลักที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากทั่วทั้งโลก อาทิเช่น ชุมชนออนไลน์ Myspace (http://www.myspace.com/) ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก จากข้อมูลเมื่อกลางปี 2007 มีผู้เข้าชมเว็บไซต์แห่งนี้ประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 110 ล้านคน ตัวเลขนี้สูงกว่าจำนวนผู้อ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร แม้แต่ Time Magazine นิตยสารยอดนิยมอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ยังมีผู้อ่านเพียงสัปดาห์ละ 3.5 ล้านคนเท่านั้น
ผู้คนในยุคนี้จึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตในอนาคต เพื่อช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี (Digital Divide) ซึ่งอาจเป็นประเด็นให้เกิดความเลื่อมล้ำทางสังคม ที่ทำให้ผู้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า จะได้เปรียบกว่าและมีโอกาสทางสังคมในบริบทต่างๆมากกว่าผู้มีความรู้น้อยกว่า เพราะในปัจจุบันนี้เกมออนไลน์ , เว็บบล็อก , เว็บไซต์ ไม่ได้เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีเวลาว่างเหลือเฟืออีกต่อไปแล้ว สื่ออินเทอร์เน็ตเหล่านี้มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากทั้งชายหญิง หลากหลายกลุ่มอายุ การงาน อาชีพ และที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ พบว่ามีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั่วโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเวลา , Bob Metcalfe ผู้ค้นพบ 3Com และ Ethernet ทำนายว่า ภายในปี 2020 การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเป็นมากยิ่งกว่าการใช้เพียงเพื่อการสื่อสาร
เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนในโลกมากขึ้นเรื่อยๆเช่นนี้ จึงมีบรรดานักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีจากหลากหลายสถาบันที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัยเพื่อประเมินแนวโน้มและทำนายอนาคตของระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งในด้านผลกระทบต่อการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต และผลกระทบจากอินเทอร์เน็ตต่อบริบทต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในโลกอนาคต
บทความนี้นำเสนอเนื้อหาหลักบางส่วนจากเอกสารสรุปผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันที่มีชื่อเสียงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล 3 องค์กร คือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ITU-International Telecommunication Union)[3] Pew Research Center[4],และ EPoSS (The European Technology Platform on Smart Systems Integration)[5] ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจศึกษาวิจัยทำนายอนาคตของระบบอินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาเรียนรู้เรื่อง “ อินเทอร์เน็ตในอนาคต ” หรือ The Future Internet

internet


อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
สนทนา (Chat)
อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
การติดตามข่าวสาร
การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
การอับโหลดข้อมูล
อื่นๆ


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"

การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7