ค้นหาบล็อกนี้

การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง

การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง
::: รำตง :::



ประวัติความเป็นมา
"รำตง" เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ใน
อำเภอสังขละบุรี
อำเภอทองผาภูมิและอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี "ตง" เป็นการ
ออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า "โตว" คำว่า ตง
หรือ โตว นี้ คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ ประกอบการแสดงซึ่งทำด้วย
ไม้ไผ่ยาว ๑ ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน

ลักษณะการเล่น
การแสดงรำตง เป็นการร้องและรำที่ใช้เสียงดนตรีประกอบในการแสดง
ผู้แสดงเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่
แต่งงานจำนวน ๑๒-๑๖ คนหรืออาจมากกว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่แสดง
ซึ่งอาจเป็นเวทีในร่ม หรือสนามหญ้า การแสดงมีการตั้งแถวผู้แสดงเป็น
แถวลึกประมาณ ๕-๖ แถวและยืนห่างกันประมาณ ๑ ช่วงแขน ชุดที่ใช้
ในการแสดงรำตงเป็นชุดกระโปรงปักด้วยด้ายสีสด คาดเข็มขัดเงินที่เอว
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง
พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง ( ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้
ไม้ตีให้จังหวะ) เนื้อร้องของเพลงรำตงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของ
กะเหรี่ยง การอบรมให้เป็นคนดีและเกี่ยวกับพุทธศาสนา เป็นต้น ท่าทาง
ที่รำคล้ายกับฟ้อนพม่า

โอกาสที่เล่น
การแสดงรำตงเป็นการละเล่นที่สนุกสนานในงานพิธีสำคัญๆ เช่น งานศพ
งานบุญข้าวใหม่ งานสงกรานต์ เป็นต้น

คุณค่า
ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น

0 ความคิดเห็น: