ค้นหาบล็อกนี้

งานสวัสดีปีใหม่

1.ข้อมูล " งานสวัสดีปีใหม่"
ประวัติวันปีใหม่ เทศกาลวันปีใหม่
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน ประวัติวันปีใหม่ การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่
1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก Happy News year
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
เทศกาลวันปีใหม่ กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
ปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เทศกาลวันปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย








เชียงราย Countdown 2010

เทศบาลนครเชียงราย จัดงานเฉลิมฉลอง เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2553 ในค่ำคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ณ หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ และ เพื่อเป็นการร่วมฉลองเทศกาลแห่งความสุข ขยายเวลา ถนนคนเดิน กาดเจียงฮายรำลึก เพิ่มเป็น 2 คืน ระหว่างวันศุกร์ที่ 1และวันเสาร์ที่ 2 มกราคม 2553 นี้ นาย สมพงษ์ กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ถือเป็นช่วงเทศกาลแห่งความสุขของพี่น้องประชาชน เพราะถือเป็นเดือนสุดท้ายของปีมีช่วงวันหยุดและมีกิจกรรมหลากหลายที่สมาชิก ในครอบครัวจะได้อยู่ด้วยกันอย่างพร้อมหน้า โดยเฉพาะในค่ำคืนของวันที่ 31 ธันวาคม จะเป็นช่วงแห่งการเฉลิมฉลองการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ทุกประเทศทั่วโลกถือเป็นวันปีใหม่สากล เป็นการเริ่มต้นพุทธศักราชใหม่ เมื่อเข้าสู่เช้าของวันที่ 1 มกราคม กิจกรรมที่ประชาชนทั่วไปมักถือปฏิบัติกันคือ เก็บกวาดทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หลายคนใช้วันนี้เป็นการเริ่มต้นทำสิ่งที่ดีๆให้กับชีวิต เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2553 เทศบาลนครเชียงรายได้กำหนดจัดกิจกรรม ณ บริเวณหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เชิญ ชวนร่วมแต่งกายแฟนซีต้อนรับปีใหม่ ชมกิจกรรมบันเทิงมากมาย และเพื่อตอกย้ำความสุข เทศบาลนครเชียงรายได้เพิ่มวันในการจัดงาน ถนนคนเดิน กาดเจียงฮายรำลึกเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553
กิจกรรม:การแสดงแสง-เสียง (Light & Sound)มีการประดับไฟรอบบริเวณ 2 ข้างถนนบรรพการจนถึงหอนาฬิกา โดยเป็นศิลปะของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ การแสดงพลุหลายพันชุด และการปล่อยโคมไฟล้านนาหลากหลายสี จำนวน 9,999 ดวง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงราย 0-5371-7434
ที่มา : http://www.chiangraifocus.com/newsdetail.php?news=3612
ที่มาภาพ : http://www.amazingcountdown.com/2010/101-3-1-เชียงราย-Countdown-2010-th.html


HANDS Bangkok Countdown 2010





ชื่องาน : HANDS Bangkok Countdown 2010
ระยะเวลาในการจัดงาน : 18-31 ธันวาคม 2552
สถานที่ : หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริแนวคิดหลัก : HANDS by Heart
ธีมงาน : Happy Town Party
จัดโดย : CM Event / CMO Group, Central World
สนับสนุนการจัดงานโดย : พานาโซนิค / สปาย / มาม่า / ยามาฮ่า และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย /
About HANDS Bangkok Countdown 2010
กว่า 300,00 คนร่วมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ร่วมกัน นับแต่ปี2008และ2009 เป็นการตอกย้ำที่สำคัญว่า เทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ HANDS Bangkok Countdown เป็นเทศกาลสากลที่ประชาชนให้ความสำคัญ ถือเป็นงานใหญ่สุดท้ายของปี เพื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความเบิกบานอีกทั้งยังเป็นเทศกาลแห่งความสุข รอยยิ้ม และความยินดี งาน HANDS Bangkok Countdown 2010 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 และเป็นศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีของชาวไทยและนักท่องเที่ยวใน กรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพราะเราเชื่อมั่นว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองซึ่งเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยว แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรอยยิ้มและความสวยงามที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย สีสัน ความสะดวกสบายและความทันสมัยอย่างครบครัน ท่ามกลางการแวดล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ระบบการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอีกมากมายเพื่อพร้อมที่จะรองรับมหาชนที่จะเข้าร่วมงาน ในวันนั้น
การจัดงานในปีนี้ประกอบด้วยการจัดสร้าง Landmark รูปแบบใหม่ “The HANDS Tower” LED Screen แนวตั้ง ที่มีขนาดสูงที่สุดในกรุงเทพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการนับเวลาถอยหลัง และสร้างความตื่นตาตื่นใจในช่วงเวลาเคาท์ดาวน์ยิ่งขึ้น Landmarkจะถูกนำมาติดตั้งในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมบันเทิงจากกลุ่มศิลปินชื่อดังจากค่ายต่างๆบน เวทีขนาดใหญ่ อันจะเป็นการส่งเสริมภาพแห่งการเฉลิมฉลองได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลส่งท้ายปี ด้วยความสำเร็จของ HANDS Bangkok Countdown ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานปีละกว่า 300,000 คน บริเวณหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริรวมถึงความประทับใจที่ถ่ายทอดสู่ผู้ชมทางบ้านกว่า 30 ล้านคน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เต็มอิ่มกับกิจกรรมบันเทิงจากศิลปินดารามากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ก่อนวันงานเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันความสุขและรอยยิ้ม เพื่อก้าวสู่ช่วงเวลาสำคัญของปีอีกด้วย สำหรับงาน HANDS Bangkok Countdown 2010 ในปีนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-31 ธันวาคม 2552 หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนถนนราชดำริ
มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรวมพลัง ประสานมือ ประสานใจ กับการนับถอยหลังร่วมกันเพื่อก้าวสู่ศักราชใหม่ และมาทำให้ปีใหม่ของคุณ พิเศษกว่าใครใน HANDS Bangkok Countdown 2010 นี้ โดยผู้ชมทางบ้านสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่เวลา 22.30 – 01.00 น.
HANDS by Heart Values
ความหมาย : คล้องมือ คล้องใจ ผูกพันเราไว้ด้วยกันรูป แบบ : ช่วงเวลานับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ ผู้คนนับแสนคนคล้องมือกันร่วมกับผู้คนทั่วประเทศและผู้คนทั่วโลก เพื่อเป็นกำลังใจให้กันเพื่อก้าวสู่ปีใหม่ร่วมกันข้อมูลเพิ่มเติม :
www.handsbangkokcountdown.com

Countdown 2010 ญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัย

เทศกาลปีใหม่ถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง ใครที่มีความขุ่นข้องหมองใจกันในปีที่ผ่านมา ก็มักจะขอให้ตะกอนแห่งความบาดหมางนั้น หายไปพร้อมกับปีเก่า... รอคอยสิ่งใหม่ๆ และอะไรที่ดีๆ ในปีที่จะถึงนี้...แถมช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ หลายคนก็มักจะได้อยู่กันพร้อมหน้ากับครอบครัวยิ่งปัจจุบันนี้คนรุ่นใหม่ นิยมเข้าวัดนั่งสมาธิและสวดมนต์ในคืนข้ามปีนี้เสียด้วย....บ้านเรามักฉลองปีใหม่และรวมญาติกันจริงๆในช่วงสงกรานต์เพราะถือเป็นปีใหม่ไทย นอกจากนี้ยังมีผู้คนอีกหลายเผ่าพันธุ์ที่จะมีประเพณีรวมญาติในวาระรื่นเริงที่แตกต่างกันไปชาวญี่ปุ่นเอง ส่วนใหญ่นิยมคืนข้ามปีนี้อยู่กับครอบครัวหรือคนที่ตัวเองรัก และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวันสิ้นปีคือ 31 ธันวาคม พวกเขาต้องกินโซบะ ค่ะ โทชิโคชิ โซบะ ที่แปลได้ว่า โซบะข้ามปี ถือเป็นอาหารที่ต้องกินก่อนปีใหม่ ด้วยลักษณะของเส้นที่ยืดยาว เปรียบเสมือนอายุที่พวกเขาต้องให้ยืนยาวดั่งเส้นโซบะ อีกทั้งสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วยเส้นโซบะทำมาจากแป้งบั๊กวีต เป็นเส้นบางสีน้ำตาล โซบะถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโซบะชนิดที่มี โซบาโกะจะอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินซีกล่าวกันว่า ธรรมเนียมกินโซบะในวันสิ้นปีนั้น เริ่มต้นในสมัยเอโดะ ทุกครอบครัวมักจะต้มเส้นโซบะแจกจ่ายให้สมาชิกในบ้านได้รับประทานพร้อมหน้ากัน แต่ปัจจุบันในเขตเมืองใหญ่ๆของญี่ปุ่น ร้านขายโซบะจะขายดีในช่วงเวลาดังกล่าว บางพื้นที่ที่ไม่นิยมโซบะก็อาจกินเส้นอื่นๆที่มีอยู่เช่น อุด้งก็ได้หลังจากกินโซบะกันแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะพากันไปยังศาลเจ้าหรือ ชไรร์ เพื่อร่วมกันฟังเสียงตีระฆังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ตามประเพณีโบราณนักบวชจะตีระฆัง 108 ครั้งเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย 108 อย่างที่มีอยู่ในตัวของคนเราออกไป เมื่อครบจำนวนก็ถือว่า กิเลส ตัณหา ความโลภต่างๆ ที่อยู่ในตัวของแต่ละคนได้ถูกชำระออกไปหมดแล้ว กายและใจของคนผู้นั้นก็พร้อมรับวันใหม่ ปีใหม่ด้วยใจที่ผุดผ่องอย่างแท้จริงและเมื่อรุ่งอรุณแรกของปีใหม่ ผู้คนก็จะพากันตื่นขึ้นรับแสงแรกแห่งปี ด้วยเชื่อกันว่าการได้เห็นแสงแรกของอาทิตย์ในปีใหม่นั้น ถือเป็นเป็นการเริ่มต้นที่สดใส และพวกเขาจะพากันไปที่วัดอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำบุญ ไหว้พระนำสิ่งที่เป็นมงคลเข้ามาสู่ตัวพร้อมอธิษฐานของพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และในวันนี้เอง คนในครอบครัวจะพากันกินอาหารร่วมกันซึ่งหลักๆ ต้องมี สาเก ถือเป็นการฉลองปีใหม่และเชื่อกันว่า สาเกนี้จะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายและรักษาสุขภาพของคนๆ นั้นด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่นิยมรับประทานก็คือ ซุปโมจิหรือ ozouni ถือเป็นอาหารที่ต้องกินเป็นพิเศษในช่วงปีใหม่ อาหารพิเศษนี้มีส่วนประกอบหลักคือ แป้งโมจิ ที่มีลักษณะขาวและเหนียว ใส่ในซุปที่อาจต้มกับปลาตัวเล็กๆ หรือ หน่อไม้ บางบ้านจะต้มกับเห็ด บางครอบครัวต้มเป็นซุปใส หรืออาจทำเป็นซุปมิโซะ ก็มีค่ะนอกจากอาหารสำหรับคนกินแล้ว ซุปโมจิที่ใส่ถั่วแดง จะเป็นอาหารสำหรับไหว้ผีในบ้าน พวกเขาจะเก็บซุปถ้วยนั้นไว้เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นจึงนำโมจิในถ้วยซุปนั้นมาปิ้งและแบ่งให้คนในบ้านกินนอกจากซุปโมจิและสาเก ที่ต้องกินเป็นอาหารเช้าแล้ว ตลอดเวลา 3 วัน คนในครอบครัวยังมีอาหารที่ต้องกินร่วมกันอีกด้วยโดยจะทำเรียงกันเป็นชั้น แต่เดิมจะมีอยู่ 5 ชั้น แต่ในปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจและครอบครัวว่าไปแล้ว การกินอาหารปีใหม่นี้ก็คล้ายกับชาวจีนที่จะเปรียบเสียงเรียกอาหารกับสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตัว เช่น กินเผือกเพื่อให้มีทรัพย์สมบัติ หรืออาหารที่นำไข่มาม้วนด้วยมีเสียงเรียกที่พ้องกับความหมายว่า มั่งคั่ง หรือถั่วดำเม็ดใหญ่ที่จะไปพ้องเสียงกับคำว่า อยู่อย่างสงบ เป็นต้นค่ะนอกจากนี้ เทศกาลฉลองปีใหม่นี้ ยังเป็นที่สราญของเด็กๆ อีกด้วยเพราะ พวกเขาจะรอรับซองเงินจากผู้ใหญ่ เรียกว่า โอโทชิดามะ Otoshidama แต่เดิมคือประเพณีการแลกเปลี่ยนของขวัญของขุนนางและนักรบในช่วงปลายสมัยมูโรมาจิ แต่โอโทชิดามะกลายเป็นการให้ซองเงินแก่เด็กเอาเมื่อสมัยเมจิ นี่เองค่ะปีใหม่ ปีนี้ขออวยพรให้ทุกท่านประสบแด่ความสุขกาย สบายใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ คิดสิ่งใดที่เป็นผลดีต่อตัวเองและผู้อื่น ก็ขอให้สมปรารถนา สวัสดีปีใหม่ค่ะ.

• ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณมาซาโนบุ ทากาโอกะ และคุณเทรุยูกิ ทานากะ และ ผู้จัดการออนไลน์

0 ความคิดเห็น: